9 วัน 9 คืน แห่งความศรัทธาใน “ประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเ ก็ต” กำลังจะเริ่มต้นในวันที่ 29 กันยายน ถึง 7 ตุลาคม 2562 นี้ บรรยากาศทั่วเมืองภูเก็ตเต็มไปด้ วยธงสีเหลืองโบกสะบัด ศาลเจ้าต่างๆ และชาวภูเก็ตต่างเตรียมการ พร้อมเริ่มพิธีกรรมอันศักดิ์สิท ธิ์ตามแบบอย่างที่สืบทอดกันมากว่ าศตวรรษ การสืบสานประเพณีเก่าแก่โบราณที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยยึดถือปฏิบัติกันอย่างเหนียว แน่นและแพร่หลายเช่นนี้ เป็นผลให้ “ประเพณีถือศีลกินผัก ได้รับการประกาศจากกรมส่งเสริมวั ฒนธรรม ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธ รรม ด้านการปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล” เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ชาวภูเก็ตและชาวไทย ควรภาคภูมิใจและร่วมกันอนุรักษ์ ด้วยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อ ง
หากวางแผนเดินทางมาเที่ยวภูเก็ต ในช่วงนี้ นอกจากร่วมประเพณีด้วยการ “ถือศีล” คิดดี ทำดี ละเว้นการเบียดเบียนผู้อื่น “กินผัก” งดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารต้องห้ามแล้ว เพื่อร่วมสานต่อประเพณีอันดีงาม ยังมีกิจกรรมอื่นๆ มากมายตลอด 9 วัน ที่คุณสามารถร่วมปฏิบัติได้ เพื่อทำจิตใจให้ผ่องใส เสริมบุญบารมีและสิริมงคลให้แก่ ตนเองและครอบครัว ทั้งการไปไหว้พระหรือเทพเจ้าจีน ที่เคารพศรัทธาที่ศาลเจ้าทั่วเมื อง การร่วมพิธีกรรมต่างๆ ที่ตื่นตาตื่นใจ แต่ละพิธีมีความหมายและนัยยะแฝง ภูมิปัญญา โดยเฉพาะพิธีอิ้วเก้ง หรือพิธีแห่พระรอบเมือง ซึ่งเป็นพิธีที่องค์กิ้วอ๋องไต่ เต่ ซึ่งเป็นองค์ประธานในพิธีถือศีล กินผัก และเทพเจ้าจีนต่างๆ ออกเยี่ยมเยียนและให้พรแก่สาธุช นผู้ถือศีลกินผักตามบ้านเรือน ผู้คนที่มีบ้านหรือร้านค้าอยู่ต ามเส้นทางขบวนแห่ก็จะตั้งโต๊ะไห ว้หน้าบ้าน เพื่อต้อนรับองค์เทพเจ้าด้วยควา มเลื่อมใสศรัทธา เป็นอีกหนึ่งสีสันของประเพณีถือ ศีลกินผักที่ชาวภูเก็ตและนักท่อ งเที่ยวเฝ้ารอ ศาลเจ้าต่างๆ จะมีกำหนดการแห่พระในแต่ละวัน เส้นทางแห่ส่วนใหญผ่านในตัวเมือ งภูเก็ต สามารถไปรอชมขบวนหรือตั้งโต๊ะไห ว้เพื่อรับพระได้ โดยการตั้งโต๊ะไหว้ก็มีรายละเอี ยดที่ต้องคำนึงถึง เพื่อความเป็นสิริมงคลของผู้ไหว้ นั่นเอง
การตั้งโต๊ะไหว้เพื่อรับพระ สำหรับประชาชนทั่วไปในประเพณีถื อศีลกินผัก ควรใช้โต๊ะสี่เหลี่ยมที่มี 4 ขา ตั้งด้านหน้าบ้าน รองขาโต๊ะด้วยกระดาษทอง ปูโต๊ะด้วยผ้าแดงหรืออาจตกแต่งด้ านหน้าโต๊ะด้วยผ้าที่เรียกว่า โต๊ะอุ๋ย เป็นผ้าสี่เหลี่ยมสีแดงปักหรือว าดลวดลายจีนสวยงาม บนโต๊ะวางกระถางธูปตรงกลาง เชิงเทียน 1 คู่ เทียนแดง 1 คู่ วางซ้าย-ขวา แก้วน้ำชา นิยมวาง 9 แก้ว ของไหว้ เป็นผลไม้ ลูกอม หรือบ๊วย ผลไม้ที่นิยมใช้ ได้แก่ ส้ม ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า ก๊าม กล้วย ภาษาจีนเรียกว่า กิ่นเจ๊ว และ สับปะรด ภาษาจีนเรียกว่า อ่องหลาย ผลไม้ทั้งสามชนิดนี้ ชื่อภาษาจีนพ้องกับคำที่มีความห มายมงคล หมายถึง ความโชคดี เจริญรุ่งเรือง นอกจากนั้นยังมีดอกไม้ เช่น ดอกเบญจมาส ดอกบัวขาว หรืออาจจะเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ที่ สวยงาม รวมทั้งควรเตรียมกระถางจุดกำยาน และกระดาษทอง หรือประทัดไว้ด้วย
เมื่อขบวนแห่มาถึง สิ่งที่ชาวภูเก็ตถือปฏิบัติ คือจุดธูปไหว้ ร่างทรงองค์เทพเจ้าต่างๆ จะแวะตามบ้านเรือน รับน้ำชา หรือผลไม้ หากมีเด็กหรือคนชราท่านมักจะให้ พร หรือช่วยปัดเป่าอาการเจ็บป่วย แล้วแจกจ่ายผลไม้ของไหว้ให้เจ้า ของบ้าน ผู้ตั้งโต๊ะไหว้ หรือผู้คนระหว่างทาง ให้นำไปรับประทาน หากได้รับผลไม้ ลูกอม หม่อหยอง หรือด้ายผูกข้อมือ ได้รับ หู คือกระดาษหรือผ้าลงยันต์ รวมทั้งดอกไม้จากร่างทรงองค์เทพ เจ้า นั่นนับเป็นของมงคลเลยทีเดียว และเมื่อถึงขบวนขององค์กิ้วอ๋อง ไต่เต่ ซึ่งประทับในเสลี่ยงใหญ่ ทุกคนควรนั่งลงด้วยความสำรวม งดจุดประทัดใส่ตั่วเหลียนซึ่งเป็ นที่ประทับขององค์กิ้วอ๋องไต่ เต่ ตั้งจิตอธิษฐานรอจนขบวนผ่านไปจึ งลุกขึ้น เมื่อขบวนแห่เสร็จสิ้นจึงเผากระ ดาษทอง เป็นอันเสร็จขั้นตอน
การจัดโต๊ะไหว้ตามกำลังแต่เต็มเ ปี่ยมด้วยความศรัทธา ตั้งจิตตั้งใจถือศีลกินผัก ทำความดีละเว้นความชั่ว รับเสด็จองค์กิ้วอ๋องไต่เต่ด้วย ความสงบสำรวม น้อมรับพรด้วยจิตใจที่ผ่องใส นี่คือแก่นแท้ของพิธีแห่พระที่ง ดงาม เป็นการชำระล้างจิตใจ เติมพลังบวกให้กับจิตวิญญาณ ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาแบบช าวภูเก็ต ภาพอันงดงามเหล่านี้ จะมีให้เห็นสืบไป ถ้าเราช่วยกันอนุรักษ์ด้วยความเ ข้าใจถึงแก่นแท้ของประเพณีถือศี ลกินผัก ประเพณีอันเป็นมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมที่มีค่าและน่าภาคภูมิ ใจ
ขอขอบคุณ ภูเก็ตเทียนซือตั๋ว เอื้อเฟื้ออุปกรณ์และสถานที่ในก ารถ่ายภาพ
https://www.facebook.com/%E0%B 8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%8 1%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B9%80%E 0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B 8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B8%A D%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%8B%E 0%B8%A7-%E6%99%AE%E5%90%89%E5% A4%A9%E5%B8%AB%E5%A3%87-300353 650888486/